บทความ

งูสมิงทะเลปากดำ

รูปภาพ
งูสมิงทะเลปากดำ (Black banded sea snake, Brown-lipped sea krait, Blue-lipped sea krait, Blue-banded sea krait) ชื่อวิทยาศาสตร์: Laticauda laticaudata เป็นงูทะเลที่มีพิษร้ายแรงต่อระบบกล้ามเนื้อ ที่พบได้ในประเทศไทย มีความยาวได้ถึง 2 เมตร จึงจัดเป็นทะเลที่ใหญ่ที่สุดด้วยที่พบได้ในน่านน้ำไทย ลำตัวเป็นสีเทา หรือเทาเหลืองลายเป็นปล้องหรือลักษณะคล้ายชายธงขว้างตามตัว หัวมีขนาดเล็ก ส่วนหางเล็กเหมือนส่วนหัว ใช้สำหรับว่ายน้ำ ปกติจะใช้ชีวิตอยู่ในทะเลตลอดทั้งชีวิต แต่ก็สามารถคลานขึ้นมาบนชายหาดได้บ้าง เพราะมีเกล็ดส่วนท้องมีค่อนข้างกว้างอย่างน้อยประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างลำตัว สามารถใช้คลานได้ โดยมักอาศัยหากินปลาตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่งที่เป็นบริเวณน้ำตื้น แต่เมื่อวางไข่จะขึ้นมาวางไข่บนบกในที่ ๆ เงียบสงบ เช่น ในโพรงถ้ำ โดยในน่านน้ำไทยจะพบที่อ่าวไทย สำหรับในต่างประเทศพบได้ที่ศรีลังกา, พม่า, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, โพลินีเซีย, ฟิจิ, ไต้หวัน, อ่าวเบงกอล, ปาปัวนิวกินี, นิวแคลิโดเนีย, หมู่เกาะโซโลมอน x

งูสมิงทะเลปากเหลือง

รูปภาพ
งูสมิงทะเลปากเหลือง (Yellow-lipped sea krait) ชื่อวิทยาศาสตร์: Laticauda colubrina เป็นงูทะเลชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งมีพิษร้ายแรงต่อระบบกล้ามเนื้อ มีรูปร่างคล้ายงูสมิงทะเลปากดำ (L. aticaudata) ที่เป็นงูในสกุลเดียวกัน แต่ว่างูสมิงทะเลปากเหลืองนั้นจะมีลำตัวสีที่อ่อนกว่า ส่วนหัวและหางมีขนาดเล็กและมีลายรูปเกือกม้าสีเหลือง ตัวผู้ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 2 ฟุต ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวกว่า 1.5 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า น้ำหนักหนักได้ถึง 2 กิโลกรัม มีอุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง 5-6 ตัว บางครั้งอาจมีลูกงูตัวเล็ก ๆ ตามงูตัวใหญ่หรือแม่งูด้วย วางไข่บนบกเช่นเดียวกับงูสมิงทะเลปากดำ มักอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ถึงที่ทะเลญี่ปุ่น, อ่าวเบงกอล, อินโดนีเซีย, หมู่เกาะโซโลมอน ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ตลอดจนบางส่วนของอเมริกากลางด้วย จากการศึกษา นักวิทยาศาสตร์พบว่า งูสมิงทะเลปากเหลืองนั้นที่มีหัวขนาดเล็กดูแลคล้ายหาง เพื่อลวงตาจากสัตว์นักล่าที่จับมันกินเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามหรือนกทะเลชนิดต่างๆ ...

งูชายธงหลังดำ

รูปภาพ
งูชายธงหลังดำ (Yellow-bellied sea snake) x ชื่อวิทยาศาสตร์: Pelamis platurus เป็นงูพิษแรงในทะเล ที่สามารถพบได้ในเขตน้ำอุ่นตั้งแต่มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก  รวมถึงน่านน้ำของประเทศไทยด้วย ลวดลายและสีสันของมันเป็นเอกลักษณ์เด่น ลำตัวด้านล่างสีเหลืองสด คาดขนานไปด้วยสีดำสนิทด้านบนไปจนถึงปลายหางที่แบนด้านข้างเป็นลักษณะคล้ายหางปลา ที่ปลายหางอาจมีลวดลายเป็นคลื่นแตกต่างจากลำตัว ปลายหัวยาว ลำตัวดูแน่น มักพบง่ายในทะเลเปิด แถบผิวน้ำที่มีเศษซากไม้หรือหินลอยเคว้งคว้าง เพื่อดักจับปลาที่อาศัยใกล้ผิวน้ำ อาหารโปรดของมันนั่นเอง งูชายธงหลังดำอาจเป็นงูพิษแรงอันตราย แต่นั่นไม่ได้แปลว่ามันจะไล่ฆ่าคนทุกคนที่มันเห็น ส่วนมากแล้ว งูทะเลจะมีนิสัยเหมือนกันคือไม่ค่อยกัด ไม่ดุ และเลือกที่จะหนีมากกว่าสู้ เนื่องจากพิษของมันนั้นจำเป็นมากสำหรับการล่าเหยื่อ และไม่ได้มีพร้อมใช้ตลอดเวลา ในทะเล ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมโหดร้าย พิษที่แรงและทำงานเร็วย่อมจำเป็นในการจะจับปลาที่คล่องแคล่วรวดเร็วในน้ำ เพราะฉะนั้นงูทะเลเองก็ไม่อยากจะใช้พิษที่จำเป็นนี้อย่างพร่ำเพรื่อ งูชนิดนี้ออกลูกเป็นตัวในฤดูใบไม้ผลิ ...